วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที 2

บทที่ 2



เอกสารและทฤษฎีทีเกี่ยวข้อง

ความหมายของนวัตกรรม

          นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรม ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมายของนวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรม ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของนวัตกรรม ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)

เป้าหมายของเทคโนโลยี
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาลภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.ความพร้อม
3.การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.ประสิทธิภาพในการทำงาน

องค์ประกอบของสิ่งประดิษฐ์
องค์ประกอบที่สำคัญของการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ มีดังนี้
1.เส้น เป็นสิ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อจุดให้เคลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการจึงก่อให้เกิดรูปร่าง รูปทรง สัดส่วน พื้นที่ บริเวณและความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนี้ ในการออกแบบควร นึงถึงลักษณะเส้น
2.รูปร่าง เป็นส่วนที่แสดงถึงเส้นรอบนอกของรูปแบบชิ้นงานซึ่งเป็นลักษณะ2มิติ ซึ่งสื่อความหมายถึงความกว้างและความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม หรือรูปอิสระ ที่แสดงเนื้อที่ของผิวมากกว่า แสดงปริมาตรหรือมวล
3.รูปทรง คือ ลักษณะของวัตถุที่มองเห็นเป็นรูป 3มิตินอกจากแสดงความกว้างความยาวแล้วยังมีความหนา ลึกและความหนานูน เช่น ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น
4.ขนาดและสัดส่วนของชิ้นงาน เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพราะขนาดของชิ้นงานที่ส่งผลถึงประโยชน์และการนำไปใช้งาน เช่น การออกแบบดอกไม้ประดิษฐ์เพื่อนำไปประดับมุมห้องถ้ามีขนาดเล็กเกินไปก็จะไม่เหมาะสม
5.สี หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกัน สีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกเมื่อมองเห็น เช่น ตื่นเต้น หนาวเย็น หรืออออบอุ่น นุ่นนวล หรือแข็งกระด้าง ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อของอิทธิพลของสีแต่ละสีและนำไปใช้ให้เหมาะสม
6.ลักษณะผิวของวัตถุ คือ คุณลักษณะภายนอกของวัตถุที่มีลักษณะแตกต่างกันตามลักษณะและชนิดของวัตถุ เช่น เรียบ มัน ขรุขระ หยาบ เป็นต้น และลักษณะพื้นผิวที่ปรากฏแก่สายตาจะมีผลต่อประสาทและความรู้สึกของผู้มอง
หลักการออกแบบงานประดิษฐ์
ในการออกแบบงานประดิษฐ์ควรคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1.ควรออกแบบให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิตประตำวันในการออกแบบงานจึงควรพิจารณาก่อนว่าสิ่งที่ออกแบบนั้นนำไปใช้ประโยชน์อะไร
2.ควรออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ต้นทุนในการผลิตให้น้อยที่สุดโดยอาจใช้วัตถุท้องถิ่นเพื่อความสะดวกและประหยัด
3.ควรออกแบบให้เหมาะสมกับวัตถุที่นำมาใช้งาน ในแต่ละท้องถิ่นมีวัตถุท้องถิ่นที่แตกต่างกันและคุณสมบัติของวัตถุท้องถิ่นนั้นก็แตกต่างกันฉะนั้นการออกแบบจึงควรคำนึงถึงลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ด้วยเพื่อจะได้ทำตามแบบได้สะดวก
4.ควรออกแบบให้สวยงาม น่าใช้ ทั้งรูปร่าง รูปทรงและลวดลาย ถึงแม้ว่างานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นจะนำไปเป็นเครื่องใช้ก็ควรจะให้ความสำคัญกับความสวยงานของชิ้นงานด้วยโดยออกแบบให้มีรูปทรงได้สัดส่วนเพิ่มความน่าใช้และรักษาคุณค่าทางศิลปะไว้คู่กัน
5.ควรออกแบบโดยคำนึงถึงโครงสร้าง โครงสร้างสิ่งต่างๆไม่เหมือนกันดังนั้นการออกแบบจึงต้องศึกษาโครงสร้างของสิ่งเหล่านั้นให้เข้าใจ
6.ควรออกแบบโดยคำนึงถึงความทนทานหรือระยะเวลาในการใช้งาน

ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบ หมายถึงอะไรนั้น ขอยกตัวอย่างคนที่เคยคิดและเขียนบอกเอาไว้แล้วเช่น โกฟ (Gove, 1965::165) เค้าบอกไว้ว่า การออกแบบเป็นการจัดแต่งองค์ประกอบมูลฐานในการสร้างงานศิลปกรรม เครื่องจักร หรือประดิษฐ์กรรมของมนุษย์ การออกแบบจะทำให้ เราสามารถถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ความสำคัญของการออกแบบ เช่น
1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานก็ได้
2.ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้นความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน
3.เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบคือตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
4.แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง
5.แบบ เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงานหรือแสดงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ
2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้ สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลองและทดสอบกาทำงานเพื่อหาข้อบกพร่องได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
-งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
-งานออกแบบครุภัณฑ์
-งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
-งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่าง
-งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
-งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
-งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
-งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ










(          

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3

วิธีดำเนินการโครงงาน

                 การจัดทำโครงงานตู้รับจดหมายอัจฉริยะผู้จัดทำโครงงานจัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและเพื่อเตือนให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีจดหมายมาส่งเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข่าวสารได้ทันเวลา และตู้รับจดหมายอัจฉริยะสามารถใช้งานได้จริงซึ่งมีวิธีดำเนิน การตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                 1. ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
                 2. ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
                 3. ดำเนินการออกแบบ
                 4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
                 5. ทดสอบและปรับปรุง
                 6. การประเมินโครงงาน
                 7. นำเสนอโครงงาน
1.ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
           ม.ร.ว. ทัศนพงษ์ ปรีดีวัฒนวรรณ ได้ให้แนวคิดและทฤษฎี ธุรกิจตู้จดหมายเกิดจาก แนวคิดที่เราต้องการเพิ่มรายได้ ให้กับธุรกิจเดิมคือ กรงสุนัข ที่เริ่มมีคู่แข่ง และกลุ่มลูกค้าก็เป็นกลุ่มเฉพาะที่เลี้ยงสุนัขเท่านั้น จึงอยากลองผลิตสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มากขึ้น เน้นของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง ตู้จดหมาย ที่เห็นอยู่ทั่วไปตามบ้าน ซึ่งรูปแบบก็คล้ายกันไม่มีอะไรโดดเด่น ทำให้เราคิดออกแบบ เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ แม่มด หมี โดยเน้นประโยชน์ในการใช้งาน ที่นอกจากจะใส่จดหมายได้แล้ว ยังเพิ่มช่องใส่หนังสือพิมพ์อีกด้วย
            ดร.สมพงษ์ ไพรนาคีรี ได้ให้แนวคิดและทฤษฎี ระบบกลไก (Mechanism) คือ สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีอุปกรณ์ต่างๆทำให้มันทำงานได้เอง เช่น การติดตั้งระบบกลไกลภายในตู้รับจดหมายเพื่อไม่ให้จดหมายค้างอยู่ในตู้เป็นเวลานาน
2.ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
               การจัดทำโครงงาน ตู้รับจดหมายอัจฉริยะ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบดังนี้
        ศึกษาหลักการ
                ศึกษาหลักการของการจัดทำตู้รับจดหมายอัจฉริยะ มีหลักการการทำงาน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างตู้รับจดหมายอัจฉริยะดังต่อไปนี้
               หลักการทำงานของ ตู้รับจดหมายอัจฉริยะ
เมื่อมีจดหมายมาสัมผัสกับระบบกลไกด้านในตู้รับจดหมายจะทำให้ป้ายที่อยู่ด้านบนของตู้รับจดหมายบริเวณหลังคาเด้งขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้รับรู้ว่ามีจดหมายมาส่ง
        วัสดุอุปกรณ์
               1.ไม้อัด 1 แผ่น
               2.เหล็ก 1 เส้น
               3.สีน้ำมัน 1 กระป๋อง
               4.น้ำมันสน 1 กระป๋อง
               5.น้ำยาเคลือบ 1 กระป๋อง
               6.สปริง 5 อัน
               7.น๊อตสกรู 1 กล่อง
               8.แม่เหล็ก 1 อัน
      วิธีทำ
               1.นำเหล็กมาวัดขนาด
               2.ตัดเหล็กตามขนาดที่วัดไว้
               3.นำเหล็กที่ตัดมาสร้างเป็นโครงร่างของตู้รับจดหมาย
               4.นำโครงร่างมาทาสีตกแต่ง
               5.วัดขนาดไม้อัดให้ตรงกับโครงร่าง
               6.นำแผ่นไม้อัดที่ทำการตัดมาติดตามโครงร่าง
               7.นำโครงร่างและแผ่นไม้อัดมาเจาะรูเพื่อใส่น๊อตยึด
               8.ติดตั้งกลไกการทำงานภายในตู้รับจดหมาย
               9.นำแผ่นไม้อัดมาติดให้ทั่วโครงร่าง
              10.ตู้รับจดหมายที่ตกแต่งสมบูรณ

       ศึกษาแนวทางในการออกแบบ
           1.ออกแบบตู้รับจดหมายให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายบ้านขนาด 20*13 นิ้ว
           2.นำกลไกลคล้ายกับดักหนูมาติดตั้งภายในตู้รับจดหมาย
           3.ออกแบบป้ายเตือนผู้ใช้งานว่ามีจดหมายเข้า

3.ดำเนินการออกแบบ
          การจัดทำตู้รับจดหมายได้ออกแบบตามแนวทางที่วางไว้


                                                   รูปที่ 3.1 แสดงด้านหน้าของตู้รับจดหมาย




     รูปที่ 3.2 แสดงด้านหลังของตู้รับจดหมาย



  รูปที่ 3.3 แสดงด้านซ้ายของตู้รับจดหมาย




   รูปที่ 3.4 แสดงด้านขวาของตู้รับจดหมาย
รูปที่ 3.5 แสดงด้านบนของตู้รับจดหมาย


4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน

            1. นำเหล็กมาวัดขนาด


                                           รูปที่ 3.5 แสดงวิธีการนำเหล็กมาทำการวัดขนาด

          2. ตัดเหล็กตามขนาดที่วัดไว้


                                             รูปที่ 3.6 แสดงวิธีการตัดเหล็กตามขนาดที่วัดไว้


             3. นำเหล็กที่ตัดมาสร้างเป็นโครงร่างของตู้รับจดหมาย


                          รูปที่3.7 แสดงวิธีการนำเหล็กมาสร้างเป็นแบบโครงร่างตู้รับจดหมาย




             4. นำโครงร่างมาทาสีตกแต่ง


                                                  รูปที่ 3.8 แสดงวิธีการทาสีโครงร่างของตู้


            5. วัดขนาดไม้อัดให้ตรงกับโครงร่าง


                                     รูปที่ 3.9 แสดงการวัดขนาดไม้อัดให้ตรงกับโครงร่าง


            6. นำแผ่นไม้อัดที่ทำการตัดมาติดตามโครงร่าง


                             รูปที่ 3.10 แสดงวิธีการนำแผ่นไม้อัดมาติดตามแบบโครงร่าง


               7. นำโครงร่างและแผ่นไม้อัดมาเจาะรูเพื่อใส่น๊อตยึด


                                       รูปที่ 3.11 แสดงวิธีการเจาะแผ่นไม้อัดและโครงร่าง


                 8. ติดตั้งกลไกการทำงานภายในตู้รับจดหมาย


                             รูปที่ 3.12 แสดงวิธีการติดตั้งกลไกการทำงานภายในตู้รับจดหมาย


              9. นำแผ่นไม้อัดมาติดให้ทั่วโครงร่าง


                                     รูปที่ 3.13 แสดงวิธีการนำแผ่นไม้อัดมาติดให้ทั่วโครงร่าง


5. ทดสอบและปรับปรุง
          ทดสอบ
               1. ความแข็งแรงของตู้รับจดหมาย
               2. ทดสอบการทำงานของมอเตอร์
               3. ทดสอบระบบกลไกภายในตู้
         ปรับปรุง
               1. จากการทดสอบโครงไม้ไผ่ ทำให้ทราบว่า การใช้โครงไม้ไผ่ไม่มีความแข็งแรงและใช้งานได้ไม่ทน จึงทำการปรับเปลี่ยนจากที่เป็นโครงไม้ไผ่มาเป็นโครงเหล็ก เพื่อให้มีความแข็งแรงและคงทนมากขึ้นกว่าเดิม
               2. จากการทดสอบมอเตอร์ทำให้ทราบว่า การทำงานไม่สมบูรณ์เนื่องจากมอเตอร์รับน้ำหนักที่เบาของจดหมายได้ไม่ดี จึงทำการปรับเปลี่ยนเป็น สปริง
               3. จากการทดสอบกลไกภายในตู้ ทำให้ทราบว่าถ้ากลไกอยู่ภายในตู้จะทำให้น้ำไหลเข้าไปข้างในตู้ ดังนั้นคณะผู้จัดทำได้ติดตั้งระบบกลไกลไว้ข้างบนของหลังคา


6. การประเมินโครงงาน
            1. แบบประเมินขณะทำโครงการ
            2. แบบประเมินนำเสนอผลงาน
            3. แบบประเมินผลงานโดยรวม
            4. แบบประเมินการเขียนและนำเสนอเค้าโครงโครงงาน
            5. แบบประเมินรูปเล่มรายงาน
            6. แบบประเมินการแก้ไขโครงงาน
            7. แบบสรุปคะแนนรวม
            8. แบบประเมินการจัดแสดงโครงงาน
7. นำเสนอโครงงาน

        วัน พฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 นำเสนอบทนำ บทที่ 1



                                                      รูปที่3.16 แสดงการนำเสนอในบทที่ 1



            วัน อังคาร ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 นำเสนอผลงานพร้อมกับการนำเสนอpower point



                         รูปที่3.17 แสดงการนำเสนอในบทที่1พร้อมกับการนำเสนอpower point


           วัน อังคาร ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553การนำเสนอในบทที่1,2และ3


                                             รูปที่3.18 แสดงการนำเสนอในบทที่1, 2และ3


           วัน พฤหัสบดี ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2553นำเสนอในบทที่2และ3


                                                 รูปที่3.19 แสดงการนำเสนอในบทที่2และ3

บทที่ 1

บทนำ



ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

  ก่อนเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารจะก้าวไกลมีหลากหลายช่องทางเลือกดังเช่นปัจจุบันการเขียนจดหมายส่งถึงกันนอกจากจะเชื่อมโยงความห่างไกลให้เข้ามาชิดใกล้หลากข้อความในจดหมายที่บอกเล่าเรื่องราวสารพันทั้งความสุขและความเศร้าความประทับใจเหล่านี้สร้างสีสันเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารที่มีเสน่ห์อมตะจากกิจการ ตู้ไปรษณีย์เสมือนสัญลักษณ์ของการไปรษณีย์ไทยที่ติดตั้งให้บริการรับฝากส่งข่าวสารจากท้องที่ต่าง ๆ เชื่อมโยงถึงกันตลอดมาจนถึงปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

      ประเทศไทยเปิดให้บริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามลักษณะของตู้เป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าและเป็นโลหะหล่อทั้งชิ้นสไตล์วิกตอเรีย จากนั้นต่อมาตู้ไปรษณีย์ มีลักษณะเป็นแท่งกลมและเป็นโลหะหล่อทั้งชิ้น และอีกแบบที่พบเห็นกันส่วนใหญ่ตู้ไปรษณีย์ตามบ้านเรือนจะทำจากแผ่นโลหะ ลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านบนเป็นสามเหลี่ยมคล้ายรูปบ้านมีช่องสอดจดหมายเพียงช่องเดียวหรือ เดิมนั้นตู้ไปรษณีย์ตามบ้านเรือนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำจากแผ่นโลหะที่มีขนาดเล็กจัดเก็บจดหมายได้น้อย

       ดังนั้นทางผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญของตู้ไปรษณีย์ จึงคิดค้นการทำตู้ไปรษณีย์ให้มีรูปแบบใหม่มีสีสันที่สวยงาม มีช่องที่จัดเก็บจดหมายและพัสดุได้มากขึ้น และการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อกับตู้ไปรษณีย์ทำให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารได้ทันท่วงที เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันและทันต่อโลกปัจจุบัน จึงได้จัดทำตู้รับจดหมายอัจฉริยะขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงงาน


1. เพื่อสร้างอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน

2. เพื่อเตือนให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีจดหมายมาส่ง

3. เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับเอกสารได้ทันเวลา



เป้าหมายของโครงงาน

เชิงปริมาณ

ตู้รับจดหมายอัจฉริยะจำนวน 1 ตู้

เชิงคุณภาพ

ตู้รับจดหมายอัจฉริยะสามารถนำไปติดตั้งและสามารถใช้งานได้จริง



ขอบเขตของเนื้อหา

1. ความหมายของนวัตกรรม

2. ความหมายของเทคโนโลยี

3. เป้าหมายของเทคโนโลยี

4. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม

5. องค์ประกอบของสิ่งประดิษฐ์

6. หลักการออกแบบสิ่งประดิษฐ์

7. ความหมายของการออกแบบ

8. การออกแบบผลิตภัณฑ์



นิยามศัพท์เฉพาะ

ตู้จดหมาย หมายถึง ตู้ที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมหรืออย่างไรก็ได้ที่มีไว้สำหรับใส่จดหมาย

อัจฉริยะ หมายถึง ความฉลาด รอบรู้

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้รู้ถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

2. เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้ในกรณีที่ตัวบ้านอยู่ไกลจากตู้รับจดหมาย

3. เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารได้ทันถ่วงที