วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3

วิธีดำเนินการโครงงาน

                 การจัดทำโครงงานตู้รับจดหมายอัจฉริยะผู้จัดทำโครงงานจัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและเพื่อเตือนให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีจดหมายมาส่งเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข่าวสารได้ทันเวลา และตู้รับจดหมายอัจฉริยะสามารถใช้งานได้จริงซึ่งมีวิธีดำเนิน การตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                 1. ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
                 2. ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
                 3. ดำเนินการออกแบบ
                 4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
                 5. ทดสอบและปรับปรุง
                 6. การประเมินโครงงาน
                 7. นำเสนอโครงงาน
1.ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
           ม.ร.ว. ทัศนพงษ์ ปรีดีวัฒนวรรณ ได้ให้แนวคิดและทฤษฎี ธุรกิจตู้จดหมายเกิดจาก แนวคิดที่เราต้องการเพิ่มรายได้ ให้กับธุรกิจเดิมคือ กรงสุนัข ที่เริ่มมีคู่แข่ง และกลุ่มลูกค้าก็เป็นกลุ่มเฉพาะที่เลี้ยงสุนัขเท่านั้น จึงอยากลองผลิตสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มากขึ้น เน้นของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง ตู้จดหมาย ที่เห็นอยู่ทั่วไปตามบ้าน ซึ่งรูปแบบก็คล้ายกันไม่มีอะไรโดดเด่น ทำให้เราคิดออกแบบ เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ แม่มด หมี โดยเน้นประโยชน์ในการใช้งาน ที่นอกจากจะใส่จดหมายได้แล้ว ยังเพิ่มช่องใส่หนังสือพิมพ์อีกด้วย
            ดร.สมพงษ์ ไพรนาคีรี ได้ให้แนวคิดและทฤษฎี ระบบกลไก (Mechanism) คือ สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีอุปกรณ์ต่างๆทำให้มันทำงานได้เอง เช่น การติดตั้งระบบกลไกลภายในตู้รับจดหมายเพื่อไม่ให้จดหมายค้างอยู่ในตู้เป็นเวลานาน
2.ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
               การจัดทำโครงงาน ตู้รับจดหมายอัจฉริยะ ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบดังนี้
        ศึกษาหลักการ
                ศึกษาหลักการของการจัดทำตู้รับจดหมายอัจฉริยะ มีหลักการการทำงาน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างตู้รับจดหมายอัจฉริยะดังต่อไปนี้
               หลักการทำงานของ ตู้รับจดหมายอัจฉริยะ
เมื่อมีจดหมายมาสัมผัสกับระบบกลไกด้านในตู้รับจดหมายจะทำให้ป้ายที่อยู่ด้านบนของตู้รับจดหมายบริเวณหลังคาเด้งขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้รับรู้ว่ามีจดหมายมาส่ง
        วัสดุอุปกรณ์
               1.ไม้อัด 1 แผ่น
               2.เหล็ก 1 เส้น
               3.สีน้ำมัน 1 กระป๋อง
               4.น้ำมันสน 1 กระป๋อง
               5.น้ำยาเคลือบ 1 กระป๋อง
               6.สปริง 5 อัน
               7.น๊อตสกรู 1 กล่อง
               8.แม่เหล็ก 1 อัน
      วิธีทำ
               1.นำเหล็กมาวัดขนาด
               2.ตัดเหล็กตามขนาดที่วัดไว้
               3.นำเหล็กที่ตัดมาสร้างเป็นโครงร่างของตู้รับจดหมาย
               4.นำโครงร่างมาทาสีตกแต่ง
               5.วัดขนาดไม้อัดให้ตรงกับโครงร่าง
               6.นำแผ่นไม้อัดที่ทำการตัดมาติดตามโครงร่าง
               7.นำโครงร่างและแผ่นไม้อัดมาเจาะรูเพื่อใส่น๊อตยึด
               8.ติดตั้งกลไกการทำงานภายในตู้รับจดหมาย
               9.นำแผ่นไม้อัดมาติดให้ทั่วโครงร่าง
              10.ตู้รับจดหมายที่ตกแต่งสมบูรณ

       ศึกษาแนวทางในการออกแบบ
           1.ออกแบบตู้รับจดหมายให้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายบ้านขนาด 20*13 นิ้ว
           2.นำกลไกลคล้ายกับดักหนูมาติดตั้งภายในตู้รับจดหมาย
           3.ออกแบบป้ายเตือนผู้ใช้งานว่ามีจดหมายเข้า

3.ดำเนินการออกแบบ
          การจัดทำตู้รับจดหมายได้ออกแบบตามแนวทางที่วางไว้


                                                   รูปที่ 3.1 แสดงด้านหน้าของตู้รับจดหมาย




     รูปที่ 3.2 แสดงด้านหลังของตู้รับจดหมาย



  รูปที่ 3.3 แสดงด้านซ้ายของตู้รับจดหมาย




   รูปที่ 3.4 แสดงด้านขวาของตู้รับจดหมาย
รูปที่ 3.5 แสดงด้านบนของตู้รับจดหมาย


4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน

            1. นำเหล็กมาวัดขนาด


                                           รูปที่ 3.5 แสดงวิธีการนำเหล็กมาทำการวัดขนาด

          2. ตัดเหล็กตามขนาดที่วัดไว้


                                             รูปที่ 3.6 แสดงวิธีการตัดเหล็กตามขนาดที่วัดไว้


             3. นำเหล็กที่ตัดมาสร้างเป็นโครงร่างของตู้รับจดหมาย


                          รูปที่3.7 แสดงวิธีการนำเหล็กมาสร้างเป็นแบบโครงร่างตู้รับจดหมาย




             4. นำโครงร่างมาทาสีตกแต่ง


                                                  รูปที่ 3.8 แสดงวิธีการทาสีโครงร่างของตู้


            5. วัดขนาดไม้อัดให้ตรงกับโครงร่าง


                                     รูปที่ 3.9 แสดงการวัดขนาดไม้อัดให้ตรงกับโครงร่าง


            6. นำแผ่นไม้อัดที่ทำการตัดมาติดตามโครงร่าง


                             รูปที่ 3.10 แสดงวิธีการนำแผ่นไม้อัดมาติดตามแบบโครงร่าง


               7. นำโครงร่างและแผ่นไม้อัดมาเจาะรูเพื่อใส่น๊อตยึด


                                       รูปที่ 3.11 แสดงวิธีการเจาะแผ่นไม้อัดและโครงร่าง


                 8. ติดตั้งกลไกการทำงานภายในตู้รับจดหมาย


                             รูปที่ 3.12 แสดงวิธีการติดตั้งกลไกการทำงานภายในตู้รับจดหมาย


              9. นำแผ่นไม้อัดมาติดให้ทั่วโครงร่าง


                                     รูปที่ 3.13 แสดงวิธีการนำแผ่นไม้อัดมาติดให้ทั่วโครงร่าง


5. ทดสอบและปรับปรุง
          ทดสอบ
               1. ความแข็งแรงของตู้รับจดหมาย
               2. ทดสอบการทำงานของมอเตอร์
               3. ทดสอบระบบกลไกภายในตู้
         ปรับปรุง
               1. จากการทดสอบโครงไม้ไผ่ ทำให้ทราบว่า การใช้โครงไม้ไผ่ไม่มีความแข็งแรงและใช้งานได้ไม่ทน จึงทำการปรับเปลี่ยนจากที่เป็นโครงไม้ไผ่มาเป็นโครงเหล็ก เพื่อให้มีความแข็งแรงและคงทนมากขึ้นกว่าเดิม
               2. จากการทดสอบมอเตอร์ทำให้ทราบว่า การทำงานไม่สมบูรณ์เนื่องจากมอเตอร์รับน้ำหนักที่เบาของจดหมายได้ไม่ดี จึงทำการปรับเปลี่ยนเป็น สปริง
               3. จากการทดสอบกลไกภายในตู้ ทำให้ทราบว่าถ้ากลไกอยู่ภายในตู้จะทำให้น้ำไหลเข้าไปข้างในตู้ ดังนั้นคณะผู้จัดทำได้ติดตั้งระบบกลไกลไว้ข้างบนของหลังคา


6. การประเมินโครงงาน
            1. แบบประเมินขณะทำโครงการ
            2. แบบประเมินนำเสนอผลงาน
            3. แบบประเมินผลงานโดยรวม
            4. แบบประเมินการเขียนและนำเสนอเค้าโครงโครงงาน
            5. แบบประเมินรูปเล่มรายงาน
            6. แบบประเมินการแก้ไขโครงงาน
            7. แบบสรุปคะแนนรวม
            8. แบบประเมินการจัดแสดงโครงงาน
7. นำเสนอโครงงาน

        วัน พฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 นำเสนอบทนำ บทที่ 1



                                                      รูปที่3.16 แสดงการนำเสนอในบทที่ 1



            วัน อังคาร ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 นำเสนอผลงานพร้อมกับการนำเสนอpower point



                         รูปที่3.17 แสดงการนำเสนอในบทที่1พร้อมกับการนำเสนอpower point


           วัน อังคาร ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553การนำเสนอในบทที่1,2และ3


                                             รูปที่3.18 แสดงการนำเสนอในบทที่1, 2และ3


           วัน พฤหัสบดี ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2553นำเสนอในบทที่2และ3


                                                 รูปที่3.19 แสดงการนำเสนอในบทที่2และ3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น